ผู้บริโภคถึง 90% บอกว่าวิดีโอของแบรนด์เป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจซื้อ จึงเป็นเรื่องที่พลาดมาก ถ้าแบรนด์ไม่ทำ และเสียโอกาสนี้ไปให้คู่แข่ง วิธีที่จะช่วยเพิ่ม Engagement และเปอร์เซ็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ (conversion rate) รวมถึงเทคนิคการใช้ลูกเล่นนิดๆ หน่อยๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของวิดีโอในทุกช่องทางโซเชียลมีเดียล เพื่อส่งผลดีการตลาดต่อไป
1. เรียนรู้ความยาวของวิดีโอในแต่ละช่องทางเพื่อสร้างความต่างเลือกอัปโหลดวิดีโอที่มีเนื้อหาเหมาะสมกับความยาวในแต่ละช่องทาง
Facebook : 120 นาที
Twitter แนะนำให้ทำวิดีโอที่มีความยาวต่ำกว่า 30 วินาที
Instagram : 60 วินาที
Snapchat : 10 วินาที
Vine : 6 วินาที
2. ตั้งค่าให้เล่นอัตโนมัติ เราสามารถตั้งค่าให้เล่นอัตโนมัติได้ ทั้งใน Twitter, Facebook และ Instagram เมื่อผู้ใช้เลื่อนหน้าจอผ่านหน้านิวฟีดแล้วเห็นวิดีโอของแบรนด์เล่นอยู่ จะช่วยกระตุ้นให้คนอยากดูวิดีโอของเรามากขึ้น และส่งผลให้ยอดวิวสูงขึ้นตามไปด้วย
3. ใส่ซับไตเติลการใส่ซับไตเติลช่วยให้คนสามารถดูวิดีโอของเรารู้เรื่องในเวลาที่เขาไม่สามารถเปิดเสียงได้ เช่น อาจจะแอบดูวิดีโอในห้องประชุม หรือที่สาธารณะ ในขณะเดียวกันก็ทำให้คนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน สามารถเข้าใจสิ่งที่เราต้องการสื่อสารด้วย
4. ทำ Live วิดีโอ จากการศึกษาพบว่า มีจำนวนคนชมวิดีโอที่กำลัง Live อยู่มากกว่าวิดีโอที่ไม่ได้ทำแบบ Real-time ถึง 3 เท่าซึ่งการทำ Live ยังช่วยให้แบรนด์สามารถเห็นจำนวนคนดู คอมเมนต์ของผู้ชม และโต้ตอบได้แบบทันที
5. จับลูกค้าให้อยู่หมัดภายในแวบแรก แบรนด์จะต้องสร้างความน่าสนใจให้ได้ภายใน 10 วินาทีแรก (หรือน้อยกว่านั้น) นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้ Vine ประสบความสำเร็จกับการทำวิดีโอความยาว 6 วินาที
6. สร้างวิดีโอประเภท How-to คอนเทนต์ประเภท How-to หรือสอนทำอะไรบางอย่างเป็นขั้นตอนง่ายๆ ได้รับความนิยมอย่างมากในทุกช่องทางของโซเชียล โดยแบรนด์สามารถใช้เครื่องมือที่ทำให้วิดีโอเล่นเร็วขึ้น เพื่อให้มีความยาวที่เหมาะสมกับแต่ละแพลตฟอร์ม
7. สร้างคอนเทนต์ที่ส่งผลต่อความรู้สึก อะไรที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก (Emotional) จะทำให้คนเกิด Action อะไรบางอย่างตามมาได้ง่ายกว่า และทำให้คนดูรู้สึกอินตามไปด้วย ต้องยอมรับว่า วิดีโอคือประเภทของคอนเทนต์ที่สามารถสื่อสารถึงความรู้สึกได้ดีกว่าทางอื่น และสามารถสร้างความรู้สึกกระแทกใจได้ในระยะเวลาที่จำกัด
สำหรับการเพิ่มความ Emotional แบรนด์สามารถเลือกใช้ภาษา เสียงพื้นหลัง และฟอนต์ต่างๆ ที่เหมาะสมกับความรู้สึกที่ต้องการถ่ายทอดในแต่ละช่วงของวิดีโอ ซึ่งคำว่า Emotional ไม่ได้แปลว่าต้องเป็นเรื่องเศร้า แต่สามารถเป็นเรื่องที่ทำให้คนมีความสุขมากขึ้น สร้างความรู้สึกทางบวก หรือสร้างแรงบันดาลใจก็ได้
8. ทำให้ค้นหาแล้วเจอใส่ Keyword หรือวลีที่ทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาคอนเทนต์ของเราเจอในทุกช่องทาง และอย่าลืมใส่แฮชแท็คใน Twitter และ Instagram เพื่อเพิ่มการค้นหาด้วย
9. ใส่ Call to Action (CTA)อะไรคือเป้าหมายของวิดีโอนั้นๆ อยากเพิ่มจำนวนเยี่ยมชมเว็บไซต์ อยากให้คนแชร์ หรืออยากให้คนซื้อสินค้า เมื่อตั้งเป้าหมายแล้วก็อย่าลืมใส่ลิงก์ หรือปุ่มอะไรก็ตามเพื่อให้ตอบโจทย์สำหรับการสร้างวิดีโอนั้นขึ้นมา วิธีการที่มีประสิทภาพที่สุดคือการใส่ CTA ไว้ท้ายวิดีโอ โดยอาจจะเป็นแค่ประโยคที่บอกให้คนดูทำอะไรต่อ เช่น “คุณสามารถช่วยให้แคมเปญเกิดขึ้นได้ เพียงไปลงทะเบียนที่เว็บไซต์” หรือ “เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ …”
10. ตอบคำถาม การตอบคำถามจะทำให้คนถามรู้สึกบวกกับแบรนด์ได้ในทันที นอกจากนี้ยังทำให้เรารู้ด้วยว่าคอนเทนต์ที่เรานำเสนอไป ถูกใจกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ การตอบคำถามจึงถือเป็นการเพิ่ม Engagement และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจของเรา
11. สร้างความน่าสนใจแม้ไร้เสียง แม้หลายธุรกิจจะเลือกสร้างความน่าสนใจในช่วงวินาทีแรกด้วยเสียงเพลง หรือการพูดประโยคเด็ด แต่การสร้างความน่าสนใจโดยที่ไม่ใช้เสียงเลยก็จำเป็น เพราะบางครั้งผู้ใช้เลื่อนหน้าไทม์ไลน์ไปเร็วๆ เราจึงต้องมีภาพที่น่าสนใจเพื่อให้คนหยุดดู ทั้งนี้ก็เคยมีสถิติที่ออกมายืนยันว่าผู้ใช้ถึง 85% ดูวิดีโอใน Facebook โดยไม่เปิดเสียง
12. โพสต์วิดีโอในแต่ละช่องทางโดยใช้เครื่องมือของแพลทฟอร์มนั้น ทุกวันนี้นอกจาก YouTube แล้ว โซเชียลมีเดียอื่นๆ ก็ให้คนสามารถอัปโหลดวิดีโอผ่านช่องทางนั้นๆ ได้เลย อย่างใน Facebook เอง ถ้าเป็นวิดีโอที่อัปโหลดผ่าน Facebook อัลกอริทึมจะปรับให้เห็นก่อน และมีประสิทธิภาพมากกว่าการเอาวิดีโอจากแหล่งอื่นมาแปะ
13. แชร์ข่าวเด่น ข่าวดัง ข่าวสำคัญที่เกิดขึ้นทันที ไม่มีอะไรจะน่าสนใจไปกว่าการอัปเดทข่าวสารเกี่ยวกับแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำสินค้าใหม่ หรือว่าประกาศความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์กร การแชร์เรื่องเหล่านี้ลงในโลกโซเชียลจะช่วยรักษาฐานแฟนคลับของเราให้อยู่ในวงโคจรกับเราไปนานๆ
14. ใส่ฟีเจอร์วิดีโอเข้าไปใน Facebook การใส่ฟีเจอร์วิดีโอ ช่วยให้เมื่อมีคนเข้ามาในเพจจะเห็นวิดีโอใต้โปรไฟล์ (และเห็นคนที่มากดไลก์เพจนี้เช่นเดียวกัน) วิธีการใส่ฟีเจอร์นี้ก็ง่ายมาก แค่คลิกแท็บคำว่าวิดีโอที่อยู่ล่าง cover photo แล้วใส่วิดีโอเข้าไป ซึ่งจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับเพจเป็นอย่างมาก โดยเราอาจจะใส่วิดีโอเพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือวิดีโอที่สะท้อนถึงเรื่องราวของผู้บริโภคก็ได้
15. ให้คนดูได้เห็นเบื้องหลัง เหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนติดตามแบรนด์ เพราะความโปร่งใส ผู้บริโภคเชื่อว่าเขารู้จักแบรนด์นั้นดีว่าแบรนด์นั้นเท่ากับอะไร และทำอะไร ดังนั้นการให้พวกเขาได้เห็นเบื้องหลังถือเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างแบรนด์ที่แข็งแรง
ยกตัวอย่างเช่น การให้เห็นเบื้องหลับการผลิตสินค้า หรือใครเป็นคนผลิต สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้จะช่วยเพิ่มความจงรักภักดีต่อแบรนด์ เหมือนการเล่าเรื่องราวที่ทำให้คนรู้สึกเชื่อมโยงผ่านตัวแทนของแบรนด์ที่เป็นมนุษย์
16. ใส่ลูกเล่นให้กับวิดีโอ แบรนด์สามารถใช้เครื่องมือในการตัดต่อวิดีโอให้มีประสิทธภาพหรือน่าสนใจมากขึ้น เพราะการแข่งขันยอดวิววิดีโอสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งบางลูกเล่นสามารถตัดต่อได้จากโซเชียลมีเดีย เช่น Snapchat ซึ่งนอกจากจะใส่กราฟฟิคดุ๊กดิ๊กได้แล้ว ยังสามารถใส่แคปชันหรือซับไตเติลได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันหลายตัวที่ปล่อยให้ออกมาให้โหลดฟรี ซึ่งแบรนด์สามารถลองโหลดมาเล่นเพื่อสร้างความต่างให้กับวิดีโอได้ เช่น Lapse It หรือ Lightworks
17. จับประเด็นร้อนที่อยู่ในกระแส และสร้างแฮชแท็ก แต่ไม่ใช่ว่าจับทุกประเด็น สิ่งสำคัญคือแบรนด์ต้องเลือกประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับแบรนด์และผู้บริโภคของแบรนด์นั้น เพื่อเพิ่มบทจำนวนคนเห็นและ engagement ที่ดี
18. ซื้อโฆษณาวิดีโอ โดยเราสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้ตามต้องการเมื่อเราลงเงิน โดยอาจมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มยอดวิวและ engagement ทั้งนี้แบรนด์สามารถปล่อยวิดีโอลงในเพจก่อนโดยไม่บูสต์ เพื่อดูว่าวิดีโอมีกระแสดีหรือไม่ แล้วค่อยเลือกว่าจะลงเงินกับมันเท่าไหร่ เพราะใครๆ ก็รู้ว่าทุกคนมีงบที่จำกัด
19. เขียน Headline ให้น่าสนใจ Headline เป็นสิ่งแรกที่ follower เห็น ดังนั้นเราต้องทำให้คนดูเกิดความสงสัย หรือสนใจจนอยากจะดูวิดีโอนั้นจนจบ ในขณะเดียวกันก็ต้องทำให้คนอื่นเข้าใจได้ว่าวิดีโอนั้นเกี่ยวข้องกับอะไร ที่สำคัญคืออย่าลืมใส่ keyword เพื่อเพิ่มอันดับในการค้นหา
20. ให้แฟนคลับช่วยสร้างคอนเทนต์ User-generate content เป็นสิ่งที่หลายแบรนด์เลือกใช้ เพราะสามารถเพิ่มประโยชน์ได้มาก และยังเพิ่มทั้ง engagement และความจงรักภักดีให้กับแบรนด์
21. ใส่ Logo ทุกธุรกิจต้องการโปรโมทแบรนด์ของทุกทางเท่าที่จะทำได้ และช่องทางโซเชียลก็เช่นกัน เวลามีคนแชร์วิดีโอจากเพจของเรา จะทำให้คนอื่นเห็นเราได้จากชื่อหรือรูปโปรไฟล์ หรือถ้าไม่แชร์ผ่านเพจ ก็ควรใส่ logo ไว้ที่มุมวิดีโอ หรือสิ่งที่จะทำให้คนเห็นแล้วจำได้ทันที ซึ่งมันอาจจะทำให้คนดูรู้สึกเชื่อมโยงกับแบรนด์ได้ง่ายขึ้น
22. โฟกัสเพียงหนึ่ง key message เลือกส่ง message เดียวต่อหนึ่งวิดีโอ ทำให้มันง่ายและกระชับเข้าไว้จะทำให้วิดีโอแสดงผลได้ดีในโซเชียลมีเดีย ทุกวิดีโอจะต้องมีหนึ่งประเด็นที่เป็นจุดฮุค และก็ควรมีแค่ประเด็นเดียว สุดท้ายอย่าลืมสิ่งสำคัญ คือการใส่ Call to Action ที่ตอนจบของวิดีโอ ซึ่งก็ควรดูวิดีโอของเราให้ส่งผลต่อ Call to Action ที่เราต้องการด้วยเช่นกัน
23. มั่นใจว่าคุณภาพเสียงวิดีโอต้องดี ไม่ว่าใครก็คงไม่อยากทนฟังเสียงดังๆ ค่อยๆ สลับกัน หรือเสียงซ่าๆ เพราะมันอาจจะทำให้แบรนด์เสียความน่าเชื่อมั่น ในขณะเดียวกันก็ทำให้ message ที่เราอยากบอกผิดเพี้ยนไป เพราะคนมัวแต่สนใจเสียงที่ขัดข้อง ดังนั้นเราต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิดีโอที่โพสต์ไปมีคุณภาพเสียงที่ดี ถ้าแบรนด์ของคุณกำลังจะทำ live ลองตรวจสอบโดยการอัดคลิปสั้นๆ ดูก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าคลิปจะถูกเผยแพร่อย่างมีประสิทธิภาพ
24. สร้างเรื่องราว การสร้างเรื่องราวมีพลัง เพราะมันทำให้แบรนด์สามารถเชื่อมโยงกับคนดูได้ ยิ่งเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับคนจริงๆ จะทำให้คนดูรู้สึกจับต้องได้ และทำให้เขาจดจำ
25. ติดตามยอด Engagement, ยอดวิว และยอดคลิก ติดตามประสิทธิภาพของวิดีโอผ่านทุกแพลทฟอร์มคือสิ่งที่สำคัญ ไม่ว่าเราจะจ่ายเงินบูสต์หรือไม่ก็ได้ อย่างใน Facebook เองก็มีหน้า analytics ที่แสดงจำนวนคนเห็นวิดีโอ และจำนวนคนที่ดูวิดีโอเพียง 10 วินาที นอกจากนี้ยังสามารถดูจำนวน reach, ยอดวิว และจำนวนคนที่ดูวิดีโอจนจบ